บล็อกนี้ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องจาก แดนอรัญ แสงทอง

วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เชิญชวนทุกท่านชมผลงานศิลปะ วิรุณ ตั้งเจริญ

ณ ศูนย์ศิลปกรรมแห่งประเทศไทย “สวูนนิเพล็กซ์” มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ 
งานมีแสดงตั้งแต่วันที่ 4 ก.พ. - 22 พ.ค. 54 เปิดให้เข้าชม
ตั้งแต่เวลา 11.00 น. – 19.00 น. (อังคาร - อาทิตย์) 

วิรุณ ตั้งเจริญ เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในบทบาทของครู นักวิชาการศิลปะ นักการศึกษา นักบริหาร นักเขียน และผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะ

ซึ่งบทบาทหน้าที่ข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งในชีวิตการทำงานเท่านั้น ประโยคที่มักได้ยินอยู่เสมอ คือ “ผมไม่ได้เป็นศิลปิน แต่ผมเป็นครูสอนศิลปะ” คำว่า “ครู” เป็นคำสั้นๆ หากแต่มีความหมายที่ลึกซึ้งยากที่จะหาคำพูดใดมาอรรถาธิบาย หรือกล่าวสรุปความหมายของคำนี้ให้สมบูรณ์ได้ในประโยคเดียว ครั้งนี้ครูสอนศิลปะอย่างวิรุณจะปฏิบัติหน้าที่ของครู ไม่เพียงเพื่อศิษย์ของเขาเท่านั้น หากแต่ยังเผื่อแผ่ประสบการณ์ของตนออกไปสู่สังคม เพื่อให้ผู้สนใจได้ร่วมเรียนรู้ และเก็บเกี่ยวประสบการณ์ไปพร้อมกัน

ในโลกที่เต็มไปด้วยมายาภาพ เราสามารถจะเรียนรู้ถึงคุณค่าของบุคคลหนึ่งได้จากสิ่งใด ฐานะ ตำแหน่ง บทบาทหน้า พฤติกรรมการแสดงออก หรือผลงาน มีคำกล่าวที่ว่า “ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน” อาจเป็นคำตอบได้ในเบื้องต้น แล้วงานประเภทใดเล่าที่เป็นเครื่องชี้วัดคุณค่าความเป็นตัวตนของวิรุณ เมื่อพิจารณาไปที่บทบาทของความเป็นครู เขากล่าวว่า “เราต้องสร้างคน ศิลปะเก่งไม่ยาก เก่งวิทยาศาสตร์ไม่ยาก แต่สิ่งสำคัญที่สุด คือ เราจะสร้างคนให้มีคุณภาพ มีศักยภาพได้อย่างไร” เจตจำนงในการผลิตคนคุณภาพสามารถสะท้อนให้เห็นถึงสำนึกรับผิดชอบในหน้าที่ครู รวมทั้งรับผิดชอบต่อบุคคลทั่วไปในสังคม และประเทศชาติ หากวงปีของต้นไม้สามารถบ่งชี้ถึงการเจริญเติบโตของเนื้อไม่ได้ ผลงานที่ปรากฎเป็นจำนวนมากของวิรุณในบทบาทครูที่สร้างศิษย์ ผลิตตำรา ค้นคว้างานวิจัย ตลอดจนผลงานอื่นๆ ย่อมแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการ ศักยภาพ ความมุ่งมั่น และประสบการณ์ผ่านร้อนหนาว

เปรียบเสมือนต้นไม้ที่ยืนลำต้นแข็งแกร่งเจริญเติบโตเพื่อให้ร่มเงา ให้ความชุ่มชื้น แตกหน่อออกผล และสร้างเมล็ดพันธุ์ที่ดีต่อไปในอนาคต เมื่อพิจารณาไปที่ผลงานศิลปะ ซึ่งถือเป็นอีกแง่มุนการทำงานหนึ่งที่ยังคงกระทำอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ด้วยเจตคติที่เชื่อมั่นในเสรีภาพทั้งในทางความคิดและในทางปฏิบัติส่งผลทำให้ผลงานมีความหลากหลาย ไม่จำกัดอยู่เพียงกรรมวิธีใดกรรมวิธีหนึ่ง หรือรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง สะท้อนให้เห็นว่าเป็นผู้พร้อมที่จะรับและถ่ายทอดความคิดเหล่านั้นตามวิถีของเสรีชน


หมายเหตุ : คัดลอก (บางส่วน) จากคำนิยมโดย คุณปวีณา เอื้อน้อมจิตต์กุล  ในหนังสือ ABSTRACT APPLIED ATTITUDE  
ทางผู้จัดทำบล็อกขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง มา ณ โอกาสนี้




2 ความคิดเห็น:

  1. น่าสนใจมากเลยครับ จะรีบหาเวลาว่างไปดูของจริงครับผม

    จากนายเนตรนภัทร์ิ์

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ26 พฤษภาคม 2554 เวลา 22:45

    ไปดูมาแล้ว ชอบมากครับ เป็นงานศิลปะที่เต็มไปด้วยเรื่องราวในอดีตมากมาย ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง

    ตอบลบ