เขาเป็นนักเขียนไทยที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศมาก่อน (จบ)
ขอบคุณคุณยูร
กมลเสรีรัตน์ ที่เอื้อเฟื้อบทความ “ในลิ้นชักความทรงจำ” ตีพิมพ์ครั้งแรกในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ปีที่ 61 ฉบับที่ 54
ไม่เพียงแต่ผลงานของแดนอรัญ แสงทองได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ เท่านั้น เกียรติยศอันสูงส่งในชีวิตก็คือ
ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์ชั้นเชอวาลิเย่ร์(Chevalier
des Arts et des Lettres) ด้านศิลปะและอักษรศาสตร์ จากกระทรวงวัฒนธรรม
ประเทศฝรั่งเศส ในฐานะนักเขียน
ไทยคนแรกที่มีชื่อเสียงในประเทศฝรั่งเศส เรียกว่า
เป็นนักเขียนชั้นอัศวิน หนังสือพิมพ์ที่สัมภาษณ์เขาหลังจากได้รับเครื่องราชอิสรยภรณ์คือกรุงเทพธุรกิจ
เซกชั่นจุดประกายวรรณกรรม ภายหลังนิตยสารกุลสตรีได้สัมภาษณ์อีกครั้งหนึ่ง
หากก่อนหน้ามีนิตยสาร GM
ได้ทำการสัมภาษณ์ หลังจากผลงานของเขาได้รับการแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส
ถือได้ว่าแดนอรัญ
แสงทองเป็นนักเขียนไทยที่มีชื่อเสียงมากในระดับสากล ภายใต้ชื่อ Saneh Sangsuk (เสน่ห์ สังข์สุข) ผลงานของเขาได้รับการเป็นภาษาต่างประเทศแทบทุกเล่ม
และอวดโฉมอยู่บนชั้นหนังสือในร้านหนังสือที่มีชื่อเสียงในแฟรงก์เฟิร์ต,โบโลญญา,มาดริด,ลิสบอน,ปารีส ฯลฯ โดยเฉพาะวรรณกรรมชิ้นเอก 3 เล่มคือ เงาสีขาว,อสรพิษและเจ้าการะเกด สำหรับเรื่องสั้นขนาดยาว“อสรพิษ”ได้รับคัดเลือกให้เป็นหนังสืออ่านนอกเวลาในหลายมหาวิทยาลัยของฝั่งยุโรป
ผมพยายามคิดย้อนไปในอดีตอันยาวนานหลายตลบว่า
คุ้นกับชื่อจริงของเขาคือเสน่ห์ สังข์สุขที่ไหน เมื่อภาพเก่า ๆ แจ่มชัดขึ้น
จึงจำได้ว่าช่วงแรกของการเขียน เขาใช้นามปากกา “มายา”
มีเรื่องสั้นตีพิมพ์ในนิตยสารต่าง ๆ หลายฉบับ เท่าที่จำได้ก็คือ ฟ้าเมืองทอง,ฟ้าของอาจินต์ ปัญจพรรค์ และนิตยสารหนุ่มสาวของปกรณ์ พงศ์วราภา หรือกรณ์ ไกรลาศ
นักเขียนเรื่องสั้นระดับแถวหน้าในอดีต นั่นเมื่อเกือบ 30 ปีเห็นจะได้
ย้อนเวลาไปในอดีต แดนอรัญ แสงทอง เกิดเมื่อปีพ.ศ.
2500 ที่จังหวัดเพชรบุรี บ้านเดียวกับธัญญา ธัญญามาศ กวีมือทองวัยอาวุโส
ในวัยเยาว์อยู่ในความอุปการะของพระอาจารย์อิน อินฺทโชโต
ซึ่งเป็นพระภิกษุที่เป็นที่นับถือของชาวเพชรบุรี นักเขียนคลื่นลูกเดียวกันได้แก่โดม วุฒิชัย,นิรันศักดิ์
บุญจันทร์,แก้ว
ลายทอง ฯลฯ เขาจบการศึกษาเอกวรรณคดีอังกฤษจาก
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร เริ่มเขียนหนังสือเมื่อครั้งยังเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย เรื่องสั้นเรื่องแรก
แรก“เพลงศพ” ตีพิมพ์ใน
สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ จากนั้นเขาก็มีเรื่องสั้นตีพิมพ์ตามนิตยสารต่าง ๆ
อีกหลายฉบับ จนกระทั่งเรื่องสั้น“ทุ่งร้าง” ได้รับรางวัลดีเด่น จากนิตยสารฟ้าเมืองทอง
หลังจากสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ประสานมิตร แดนอรัญ แสงทอง
ทำงานเป็นล่ามให้กับ องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา หรือUSAID (United
Sates Agency for International
Development) ในตำแหน่งล่าม ในเวลาต่อมาเขาหันหลังให้กับการเป็นมนุษย์เงินเดือน ด้วยเหตุผลที่ว่าตัวตนของเขากำลังจะสูญเสียจิตวิญญาณในชีวิตไป
นั่นก็คือการเขียนหนังสือ จากนั้นแดนอรัญ
แสงทองจึงเริ่มต้นอาชีพที่เขารักเต็มเปี่ยม
ทั้งงานเขียน งานแปลและงานบรรณาธิการ
ผลงานเล่มแรกชื่อ“ผู้ถูกกระทำ”เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้น,ความเรียงและบทละคร
ในนามปากกา “มายา” แต่ในภายหลังเขาได้ทำลายหนังสือเล่มนี้ทิ้งเท่าที่จะสามารถทำได้
ด้วยเหตุผลที่ว่านามปากกา
“มายา”ไปซ้ำกับวินัย อุกฤษณ์ นักเขียนกลุ่มพระจันทร์เสี้ยวที่แต่งเพลง
“นกสีเหลือง” จากนั้นเขาก็ตั้งนามปากกา “แดนอรัญ
แสงทอง” เบิกทางไปสู่แสงสีทองแห่งตัวอักษรนับแต่นั้นมา
หลังจากนั้นแดนอรัญ
แสงทองตัดสินใจออกเดินทาง เพื่อหลีกหนีความวุ่นวายในเมืองหลวง เดินทางไปในเส้นทางของการแสวงหาและได้เขียนผลงานออกมาเป็นบทกวีชื่อ
“ ตะคอกปีศาจ”ใช้นาม “อรัญวสี” ระหว่างเช่าห้องเล็ก ๆ
อยู่ที่จังหวัดฉะเชิงเทราเพื่อทำงานเขียน เขาเฝ้ามองภาพชีวิตของผู้คนต่างๆ
ทำให้เขาหวนคิดถึงภาพชีวิตของตนในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งเขาเคยผูกพันอยู่กับผู้คน,สังคม,ประเพณีและเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต เขาจึงเริ่มต้นเขียนนวนิยาย เรื่องแรก“เงาสีขาว” นวนิยายขนาดยาวที่ตั้งใจ
จะให้เป็นเสมือนภาพเหมือนของศิลปินในฐานะวัยระห่ำของชีวิต โดยต้นฉบับร่างแรกใช้เวลานานกว่า 6 ปี
หลังจากวางมือกับต้นฉบับร่างแรกของ“เงาสีขาว” แดนอรัญ แสงทองเดินทางเข้าเมือง หลวง เพื่อทำหน้าที่บรรณาธิการสำนักพิมพ์สำนักพิมพ์อรุโณทัยของเขาเอง ในห้วงเวลานั้นเขามีผลงานรวมเรื่องสั้น,ความเรียงและกวีนิพนธ์ร้อยแก้ว“ยามพราก” ซึ่งเป็นรวมผลงานความเรียง เรื่องสั้นและกวีนิพนธ์ร้อยแก้ว ในขณะเดียวกันเขาได้อ่านต้นฉบับ “ เงาสีขาว”อีกครั้ง เพื่อจัดพิมพ์ออกมา แต่ความยาวเหยียดของเนื้อหา สร้างความหนักใจให้กับแดนอรัญ แสงทองมาก จึงขัดเกลาและเรียบเรียงเนื้อหาใหม่ ให้เหลือเพียง 415 หน้า
“เงาสีขาว”ปรากฏโฉมออกมาในปีพ.ศ. 2536 หากวงวรรณกรรมไทยไม่ได้ให้ความสนใจแม้แต่น้อย ไม่มีนักวิจารณ์กล่าวถึงผลงานเล่มแรกของเขาเลย แต่ผู้ที่ให้ความสนใจและแสดงความตื่นเต้นอย่างมากมายกลับเป็นชาวต่างประเทศที่ชื่อมาแซล บารังส์(Marcel Barang) นักแปลและนัก
หลังจากวางมือกับต้นฉบับร่างแรกของ“เงาสีขาว” แดนอรัญ แสงทองเดินทางเข้าเมือง หลวง เพื่อทำหน้าที่บรรณาธิการสำนักพิมพ์สำนักพิมพ์อรุโณทัยของเขาเอง ในห้วงเวลานั้นเขามีผลงานรวมเรื่องสั้น,ความเรียงและกวีนิพนธ์ร้อยแก้ว“ยามพราก” ซึ่งเป็นรวมผลงานความเรียง เรื่องสั้นและกวีนิพนธ์ร้อยแก้ว ในขณะเดียวกันเขาได้อ่านต้นฉบับ “ เงาสีขาว”อีกครั้ง เพื่อจัดพิมพ์ออกมา แต่ความยาวเหยียดของเนื้อหา สร้างความหนักใจให้กับแดนอรัญ แสงทองมาก จึงขัดเกลาและเรียบเรียงเนื้อหาใหม่ ให้เหลือเพียง 415 หน้า
“เงาสีขาว”ปรากฏโฉมออกมาในปีพ.ศ. 2536 หากวงวรรณกรรมไทยไม่ได้ให้ความสนใจแม้แต่น้อย ไม่มีนักวิจารณ์กล่าวถึงผลงานเล่มแรกของเขาเลย แต่ผู้ที่ให้ความสนใจและแสดงความตื่นเต้นอย่างมากมายกลับเป็นชาวต่างประเทศที่ชื่อมาแซล บารังส์(Marcel Barang) นักแปลและนัก
วิจารณ์ชาวฝรั่งเศส เมื่อมาแเซล บารังส์ จัดทำโครงการ The 20 Best Novels
of Thailand โดยคัดเลือกให้ เงาสีขาว เป็นหนึ่งในยี่สิบ
นวนิยายชั้นเยี่ยมของไทย ที่ได้รับการแปลและจัดพิมพ์เป็นภาษาฝรั่งเศส
จากคณะกรรมการพิจารณาหนังสือ ของศูนย์หนังสือแห่งชาติฝรั่งเศส (Centre
National du Livre) ดังที่กล่าวไว้ในฉบับก่อน
ผลงานเล่มต่อมา หลังจากเขาย้ายไปอยู่ที่เพชรบุรี
คือเรื่องสั้นขนาดยาว“อสรพิษ” งานเขียนที่มีความยาว 20 หน้า
ซึ่งใช้เวลาคิดนานกว่า 20 ปี แรงบันดาลใจที่เกิดขึ้นกับคนในสังคมเล็กๆ
จินตนาการ และการเล่าขานในตำนานของหมู่บ้าน
ผ่านเรื่องราวของเด็กแขนพิการกับแม่งูยักษ์
ที่ต่างก็รัดชะตากรรมของจนเองเอาไว้ก่อนจะถึงจุดจบ “อสรพิษ”พิมพ์ครั้งแรก เมื่อเดือนเมษายน 2545 โดยสำนักพิมพ์
แมวคราวของ ธนิต สุขเกษม เป็นหนังสือฉบับสองภาษา ทั้งฉบับไทยและภาษาอังกฤษ
นอกจากนี้ยังมีคำนำของ อาจินต์ ปัญจพรรค์
ในภาคภาษาไทยและมีคำนำของมาแซล บารังส์
ในภาคภาษาอังกฤษ
ผลงานเรื่องต่อมาที่จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์แมวคราวคือนวนิยายเรื่อง“เจ้าการะเกด” สำหรับเรื่องสั้นขนาดยาว“อสรพิษ”ซึ่งได้รับการแปลถึง 8 ภาษา มียอดจำหน่ายกว่าแสนเล่ม โดยมาแซล บารังส์ยกย่องว่า“อสรพิษ”
ว่าเป็นผลงานชิ้นเยี่ยม ชิ้นหนึ่งของโลก ไม่ใช่ผลงานสร้างสรรค์แห่งอาเซี่ยน
แต่เป็นผลงานสร้างสรรค์ระดับโลก
นอกจากนี้
“อสรพิษ”ยังนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ โดย วีรยศ สำราญสุข ทิวาเวทย์ ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณ
จากโครงการและกิจกรรมส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ
ของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม
และเข้าร่วมฉายในเทศกาลภาพยนตร์ระดับโลกอย่าง Cannes Film Festival ที่ประเทศฝรั่งเศส
ผลงานของแดนอรัญ แสงทองมีดังนี้-ผู้ถูกกระทำ,อสรพิษ,ยามพราก,เพลงรักคนพเนจร,แมวผี,เงาสีขาว,เจ้าการะเกด,เดียวดายใต้ฟ้าคลั่ง,ตำนานเสาไห้,อตีเตกาเล,วิมุตติคีตา:อานุภาพแห่งอนุสาสนีปาฏิหาริย์,มาตานุสติ,ดวงตาที่สาม,อสรพิษและเรื่องอื่น ๆ
ก่อนหน้าที่แดนอรัญ
แสงทองจะได้รับรางวัลซีไรต์ในปีพ.ศ.2557 จากรวมเรื่องสั้น“อสรพิษและเรื่องอื่น
ๆ ” เขาได้รับยกย่องให้ได้รับรางวัลศิลปาธร สาขาวรรณศิลป์ จากสำนักศิลงานวัฒนธรรมร่วมสมัยมาแล้วเมื่อ
ปี 2553 สำหรับงานแปลที่ใช้นามปากกา“มายา”ได้แก่ทุ่งดอกหญ้าถึงดวงดาวของออสการ์
ไวลด์,เมตามอร์ฟอร์ซิส
ของฟรานซ์ คาฟก้า, คนสวน
ของรพินทรนารถ ฐากูร, คนโซ ของคนุท เฮ็มซุน นามปากกา“เชน จรัสเวียง” ได้แก่กระแสลมในฤดูใบไม้ผลิ,
แล้วดวงตะวันก็ฉายแสงและสวนสวรรค์แห่งความรัก ของเออร์เนสต์ เฮ็มมิงเวย์ เป็นอาทิ
“...งานเขียนไม่ใช่สิ่งที่จะเอาชนะได้โดยง่าย งานเขียนมันมีอะไรของมัน
งานเขียนที่ดีไม่ใช่สิ่งที่เอาชนะได้โดยง่าย
คุณต้องทำงานหนักเพื่อที่จะต้องเขียนมันให้ดีจริงๆ ต้องแลกกับมันทั้งชีวิต...” แดนอรัญ แสงทองเคยกล่าวไว้และเขาจะยังคงทุ่มชีวิตให้กับงานเขียนต่อไปไม่สิ้นสุด
“จงเก็บรักษารักไว้ในหัวใจ
ชีวิตที่ไร้รักเปรียบเสมือนสวนที่ ไร้แสงตะวัน เมื่อดอกไม้แห้งเหี่ยว และ ล้มตาย”ออสการ์
ไวล์ด)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น