บล็อกนี้ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องจาก แดนอรัญ แสงทอง

วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553

"เงาสีขาว" วิจารณ์โดย นพพร ประชากุล

เงาสีขาว (ภาพเหมือนในวัยระห่ำของศิลปิน)
พิมพ์ครั้งแรก ธันวาคม 2536 / สำนักพิมพ์อรุโณทัย
พิมพ์ครั้งที่สอง ตุลาคม 2552 / สำนักพิมพ์สามัญชน

คัดลอกบางส่วนจากบทความวิจารณ์โดย นพพร ประชากุล ในหนังสือ ยอกอักษร ย้อนความคิด เล่ม 1 : ว่าด้วยวรรณกรรม มีนาคม 2552 / สำนักพิมพ์อ่าน และ วิภาษา

เงาสีขาว โดย แดนอรัญ แสงทอง (2536) เป็นนวนิยายไทยที่แปลกใหม่น่าสนใจยิ่ง โดยรวมแล้ว ความแปลกใหม่ของหนังสือเล่มนี้เกิดจากความพยายามที่จะทดสอบศักยภาพของ “นวนิยาย ” ว่าจะสามารถเล่าอะไรได้บ้างแค่ไหน และอย่างไร ทั้งนี้แน่นอนว่าความพยายามดังกล่าวย่อมนำไปสู่การท้าทาย “ กฎ – กติกา – มารยาท ” ที่เคยชินกันในวรรณกรรมประเภทนิยายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้…….

เงาสีขาว อาจจัดอยู่ในประเภทย่อยของนวนิยายที่เรียกว่า อัตชีวประวัติสมมุติ แบบเดียวกับ ละครแห่งชีวิต ของ ม.จ. อากาศดำเกิง รพีพัฒน์ หรือ A la Recherche du temps perdu (การค้นหาวันเวลาที่สูญหาย) ของ มาร์แซ็ล พรุสต์ กล่าวคือ เป็นเรื่องสมมุติของคนคนหนึ่งซึ่งนำเอาชีวิตของตนเองจากอดีตถึงปัจจุบันมาเล่า โดยที่ใน เงาสีขาว นั้นจะเน้นชีวิตในด้านที่ออกจะ “ เลวทราม ” มากเป็นพิเศษ ความเลวทรามส่วนใหญ่ที่ชายหนุ่มผู้เล่าเรื่อง (ซึ่งเราต้องแยกแยะจากผู้แต่ง) นำเสนอ เป็นเรื่องความสัมพันธ์ของเขากับผู้หญิง…….

สำหรับผู้วิจารณ์แล้วสิ่งที่สะดุดตาสะดุดใจมากที่สุดก็คือ นวนิยายเล่มนี้นำเอาปรากฏการณ์ที่เชื่อมโยงเรื่องของภาษา การพูด คำพูด จุดยืนของผู้พูด ฯลฯ ซึ่งเรียกรวมๆ ว่า “ วาทกรรม ” มาทำให้กลายเป็นปัญหาน่าขบคิด ปัญหาเกี่ยวกับการพูด คำพูด ในเงาสีขาว นี้ พบได้ทั้งในระดับวาทกรรมของผู้เล่าเรื่องและในระดับวาทกรรมของตัวละคร…….

โปรดอ่านต่อในหนังสือ ยอกอักษร ย้อนความคิด เล่ม 1 : ว่าด้วยวรรณกรรม สำนักพิมพ์อ่าน และ วิภาษา สั่งซื้อได้ที่: http://www.readjournal.org/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น